วิธีเพาะเห็ดเผาะ เพาะเองได้ไม่ต้องรอฤดูกาล

เห็ดเผาะ” เป็นเห็ดพื้นบ้านที่นิยมนำมารับประทานมาก ช่วงนี้ราคาเห็ดเผาะ กิโลกรัมละเกือบพันบาท แต่ถึงจะแพงยังไง ก็ยังซื้อกินกันจนเห็ดโตไม่ทันอยู่ดี สำหรับใครที่ชอบกินเมนูเห็ดเผาะ ถือได้ว่าเป็นข่าวดีเลยก็ว่าได้ เพราะว่า เห็ดเผาะสามารถปลูกเองได้ โดยที่ไม่ต้องรอหน้าฝนอีก 1 ปี วนมาอีกรอบต่อไปแล้ว

ด้วยความที่เห็ดเผาะ มีเนื้อกรอบกุบกับ มีรสหวานเล็กน้อย รสชาติอร่อย จนเป็นที่ต้องการของคนจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติที่ดีแล้ว ยังมีประโยชน์คุณค่าทางโภชนาสูง และยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย โดย“เห็ดเผาะ” หรือ “เห็ดถอบ” มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ “เห็ดเผาะหนัง” สีดำกรอบๆ และ “เห็ดเผาะฝ้าย” ออกไปทางอ่อนนิ่ม

ดร.อานนท์ เอื้อตระกลู ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้านการเพาะเห็ด องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความรู้ว่า ” เราสามารเพาะเห็ดเผาะ โดยนำเชื้อเห็ดเผาะ ใส่เข้าไปในรากของต้นไม้ เช่น ต้นยางนา ต้นพลวง มะค่า เต็งรัง ต้นไม้พวกนี้หากมีเชื้อเห็ดเผาะเข้าไปอาศัยจะโตไวมาก เพราะเส้นใยเห็ดเผาะ จะเกาะอยู่ที่ปลายราก ย่อยอาหารจำพวกฟอสฟอรัสซึ่งมีอยู่มากในรากพืชจำพวกนี้ ทำให้พืชแข็งแรง และ ป้องกันโรค อย่างอื่นมาทำลา ยรากของต้นไม้นั้น เรียกว่า อยู่กันแบบพึ่งพาอาศัย “

สำหรับเห็ดเผาะ จะนิยมนำมาทำอาหารในช่วงที่อ่อนๆ เราจึงได้นำวิธีการจับดูเห็ดเผาะ ด้วยลักษณะภายนอกแบบคร่าวๆ เพื่อให้เราสามารถแยกเห็ดเผาะได้ว่าแบบไหนที่จะนำมาทำอาหารได้อร่อย ดังนี้

วิธีการปลูกเห็ดเผาะ
วิธีที่ 1 นำ “เห็ดเผาะ” ที่แ ก่จัดมาแกะเอาสปอร์ข้างใน แล้วนำไปผสมน้ำให้เข้ากัน จากนั้นนำน้ำดำๆ ที่ได้ราดไปที่โคนต้นไม้ ในปีถัดไปก็จะมีเห็ดเผาะเกิดตามรากไม้ รออีกสัก 2 ปีให้ต้นไม้โตพอ ค่อยเริ่มเก็บเห็ดได้ และจะเกิดที่ต้นไม้ต้นนี้ทุกๆปี

วิธีที่ 2 คล้ายๆกับวิธีแรก แต่จะนำน้ำดำๆ ไปรดกล้าต้นไม้ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง แล้วสังเกตุดูต้นกล้าถ้าเริ่มเห็นว่ามีเนื้อเยื่อ “เห็ดเผาะ” เจริญเติบโตแล้ว ให้นำไปปลูกได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด

วิธีที่ 3 ใช้วิธีนำต้นกล้าไปปลูกทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ยางนาสักระยะ ก็จะได้ต้นกล้าที่ติดเชื้อ “เห็ดเผาะ” ไปด้วย แต่เมื่อในปีถัดไปมี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้น อย่าพึ่งเก็บเพราะต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายกว่าวิธีอื่น

หากใครสะดวกวิธีการแบบไหน ก็ลองใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละคนได้เลยครับ รู้วิธีการปลูกเห็ดเผาะ ด้วยตัวเองง่ายๆแบบนี้แล้ว ก็ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อกิโลละเกือบพันบาทกันแล้วนะครับ

ข้อมูลจาก www.kasetnana.com

Share the Post: