ชำระหนี้

วิธีตรวจสอบยอดหนี้ กยศ. ที่ต้องจ่ายชำระ 5 ก.ค. นี้

สำหรับใครที่ยืมเงิน กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ) ซึ่งเรานั้นได้กู้ยืมตั้งแต่ครั้งเมื่อเรียนอยู่ เพื่อช่วยลดภาระของค่าใช้จ่ายที่พ่อแม่ต้องส่งเราเรียน บางคนพ่อแม่ไม่มีเงินส่งเรียน ดีที่เรายังมีที่พึ่ง โดย กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ) ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยให้ทุกท่านนั้นยืมเงินเรียนจนจบ พอจบแล้วทาง กยศ. ก็ให้เราทำงานเก็บเงิน 2 ปี เมื่อครบกำหนดชำระคืนแล้ว คือวันที่ 5 ก.ค. นี้ วึ่งเราก็ควนส่งคืนกำหนดตามตารางที่ทางกองทุนนั้นแจ้งไว้ในแต่ละปี เพื่อที่น้องๆเราจะได้มีเงินยืมเรียนในรุ่นต่อไปนั่นเอง โดยเราสามารถเข้าเช็คยอดเงินกู้ยืมได้มีวิธีดังนี้

  1. เข้าที่เว็บไซต์ https://www.studentloan.or.th เลือก ต ร ว จ สอบยอดหนี้ กยศ.

2. ทำการ Login เพื่อ เ ข้ า ระบบ

3. เมื่อ เ ข้ า สู่ขั้นตอนนี้แล้ว ให้เลือกในส่วนข้อมูลผู้กู้

โ ด ย ในขั้นตอนนี้จะมีข้อมูลคือ 

  • รายละเอียดบัญชี ซึ่งจะแสดงรายละเอียดยอดหนี้  ยอดชำระ และยอดที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 5 ก.ค. นี้
  • ตารางการชำระ เป็นตารางที่แสดงว่าแต่ละปีเราจะต้องชำระ เงินต้น+ดอกเบี้ย เท่าไหร่
  • รายการค้างชำระ  จะแสดงว่าปีนี้คุณชำระไปเท่าไหร่แล้ว

ซึ่งในหน้านี้ก็จะแสดงตัวเลขว่าวันที่ 5 กรกฎาคม นี้ เราต้องไปชำระ เงินต้น + ดอกเบี้ย เท่าไหร่ ( ตัวอย่าง 9,627 บาท )

สุดท้ายตัวอย่างนี้คือตารางแสดงการผ่อนชำระของแต่ละปี

ซึ่งในหน้านี้ก็จะแสดงตัวเลขว่าวันที่ 5 กรกฎาคม นี้ เราต้องไปชำระ เงินต้น + ดอกเบี้ย เท่าไหร่ ( ตัวอย่าง 9,627 บาท )

สุดท้ายตัวอย่างนี้คือตารางแสดงการผ่อนชำระของแต่ละปี

ข้อมูลจาก www.jobthaidd.com

วิธีตรวจสอบยอดหนี้ กยศ. ที่ต้องจ่ายชำระ 5 ก.ค. นี้ Read More »

กยศ ลดเบี้ย พักชำระหนี้ 1 ปี ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

กยศ.ได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้กยศและช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ค้างชำระ โดยมาตรการที่ออกมามีทั้งลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ชำระหนี้เพื่อปิดบัญชีในครั้งเดียว มาตรการต่อไปคือ การลดเบี้ยปรับถึง 75 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มก่อนฟ้องร้องคดีที่มาชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะเป็นปกติ มาตราการ พักชำระหนี้ 1 ปีสำหรับผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แถมเพิ่มค่าครองชีพให้อีกคนละ 600 บาทต่อเดือน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป และการลงทะเบียนขอปรับลดอัตราเบี้ยปรับ

มาตรการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ กยศ. และช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ ดังนี้
1.ลดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ค้างชำระหนี้และปิดบัญชีในครั้งเดียว หากเป็นผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีจะต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่เกิดขึ้นด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 – 29 กุมภาพันธ์ 2563
• กรณีผู้กู้ยืมก่อนฟ้องคดี สามารถติดต่อชำระหนี้เพื่อปิดบัญชีและรับส่วนลดเบี้ยปรับ ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
• กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ลงทะเบียนขอรับสิทธิได้ที่ www.studentloan.or.th ทั้งนี้ผู้กู้ยืมต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนชำระหนี้ปิดบัญชี

  1. ลดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 75 กรณีผู้กู้ยืมเงินก่อนฟ้องคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมด ให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ) ได้รับสิทธิอัตโนมัติ โดยติดต่อชำระหนี้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 – 29 กุมภาพันธ์ 2563
  2. พักชำระหนี้ 1 ปี สำหรับผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฉพาะกลุ่มผู้กู้ยืมก่อนฟ้องคดี ดังนี้
    3.1 คุณสมบัติ
    • เป็นผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ และยังไม่ถูกฟ้องดำเนินคดี
    • เป็นผู้กู้ยืมเงินที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
    3.2 เงื่อนไขการพักชำระหนี้
    • กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายปี พักชำระหนี้ในงวดปี 2563 และผู้กู้ยืมจะต้องกลับมาชำระหนี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564
    • กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน พักชำระหนี้ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนถัดไปที่กองทุนอนุมัติ
    3.3 ผู้กู้ยืมเงินที่ได้สิทธิพักชำระหนี้ ไม่ต้องชำระเงินต้น ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้
    3.4 ในระหว่างพักชำระหนี้ กองทุนจะหยุดคิดดอกเบี้ย และหยุดคิดเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียม กรณีผิดนัดชำระหนี้ทั้งงวดที่ค้างชำระก่อนหน้า และงวดที่อยู่ระหว่างการพักชำระหนี้จนกว่าระยะเวลาพักชำระหนี้จะสิ้นสุด
    3.5 วิธีการยื่นขอรับสิทธิ์
    • ผู้กู้ยืมเงินที่ขอใช้สิทธิพักชำระหนี้ ลงทะเบียนขอรับสิทธิได้ที่ www.studentloan.or.th ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 – 29 กุมภาพันธ์ 2563
    • ผู้กู้ยืมเงิน และผู้ค้ำประกันจะต้องลงนาม ในแบบคำขอพักชำระหนี้ พร้อมแนบหลักฐานประกอบทุกราย

ข้อมูลจาก 2benews,กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

กยศ ลดเบี้ย พักชำระหนี้ 1 ปี ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ Read More »