ช้อปชิมใช้

มาแล้ว‼️ #ชิมช้อปใช้ เฟส 2 เริ่มลงทะเบียน 24 ตุลาคมนี้

“ชิมช้อปใช้ เฟส 2” จะเปิดให้ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์ลงทะเบียนเพิ่มจำนวน 3 ล้านคน ซึ่งนอกจากจะได้รับวงเงินสนับสนุน 1,000 บาท สำหรับการใช้จ่ายผ่าน g-Wallet 1 และเงินชดเชยร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท จากเงินของประชาชนเองผ่านg-Wallet 2 (เงินชดเชยไม่เกิน 4,500 บาท)

เช่นเดียวกับ “ชิมช้อปใช้” เดิมแล้วยังจะได้รับสิทธิ์เงินชดเชยร้อยละ 20 ของยอดใช้จ่ายในส่วนที่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท (เงินชดเชยไม่เกิน 4,000 บาท) ซึ่งสิทธิ์นี้จะขยายให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ 10 ล้านคนแรกที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ด้วยสำหรับการใช้จ่ายผ่าน G-Wallet 2 สามารถเติมเงินได้ง่ายและสะดวก

โดยนอกจากจะเติมเงินผ่านการสแกน QR Code ของทุกธนาคาร หรือกรอกตัวเลข G-Wallet 15 หลักผ่าน mobile banking ของธนาคารต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถเติมเงินเข้า G-Wallet 2 ผ่านเครื่อง ATM ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะปรับเวลาเริ่มลงทะเบียนใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 รอบ รอบละ 500,000 ราย รอบแรกเริ่มลงทะเบียนเวลา 6.00 น. และรอบที่ 2 เริ่มลงทะเบียนเวลา 18.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้สนใจลงทะเบียน ซึ่งจะเริ่มเปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2562 จำนวนวันละไม่เกิน 1 ล้านคน

โดยมาตรการ “ชิมช้อปใช้ เฟส 2” นี้ ประชาชนสามารถใช้ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และร้านค้าสามารถสมัครเข้าร่วมมาตรการได้ถึง 31 ธันวาคม 2562 เช่นกัน
ทั้งนี้ กรมสรรพากรสนับสนุนนโยบายเรื่อง Digital Economy ดังนั้น จึงไม่มีนโยบายมุ่งตรวจสอบกลุ่มผู้ใช้ e-Payment อยู่แล้ว ในทางตรงกันข้าม กรมสรรพากรเห็นว่า ผู้ใช้ e-Payment จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ดี
ซึ่งจะไม่ถูกตรวจสอบและได้รับบริการที่ดี เช่น การคืนภาษีเร็ว จากกรมสรรพากรด้วย

2. มาตรการลดภาระให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย (มาตรการลดภาระฯ) เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยรัฐบาลจะลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนอง ดังนี้
2.1 ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01
2.2 ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 ทั้งนี้ เฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วยและการจดทะเบียนการโอน และการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน โดยมีระยะเวลานับตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 24 ธันวามคม 2563

3. มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (มาตรการสินเชื่อฯ)
นอกจากการสนับสนุนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองแล้ว ธอส. จะสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย โดยการให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ราคาพิเศษและเงื่อนไขผ่อนปรน สำหรับมาตรการสินเชื่อจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ (22 ตุลาคม 2562) จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 โดยมีวงเงินสินเชื่อทั้งหมด 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.5 ในช่วง 3 ปีแรก มาตรการลดภาระฯ และมาตรการสินเชื่อฯ มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง กลุ่มคนเริ่มทำงานใหม่ที่กำลังก่อร่างสร้างตัว

รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อ เพื่อให้บุตรหลานหรือทายาท โดยต้องเป็นการซื้ออยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ (เพื่อการอยู่อาศัย) และห้องชุด ทั้งนี้ ต้องเป็นที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จพร้อมอยู่ที่ไม่เคยผ่านการครอบครองโดยบุคคลอื่นมาก่อนการกำหนดราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วยนั้น เนื่องจากเป็นระดับราคาที่อยู่อาศัยที่เป็น ที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ณ เดือนตุลาคม 2562 ที่ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีอยู่ประมาณ 34,731 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 57 ของที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จทั้งหมด และคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในปี 2563 อีกประมาณ 145,269 หน่วย จึงมีที่อยู่อาศัยรวมกว่า 180,000 หน่วย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าของได้

คาดว่าทั้ง 2 มาตรการ จะช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโต ก่อให้เกิดการขยายตัวของ supply chain ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจพัฒนาการคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้ ธอส. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นผู้นำตลาดในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตาม ดังนั้น คาดว่ามาตรการนี้จะช่วยเหลือให้ผู้บริโภคหรือประชาชนให้ได้รับประโยชน์และสามารถเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น

4. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม สัมมนา ประจำปีงบประมาณ 2562ไปพลางก่อน (Front Load) เพื่อให้มีเม็ดเงินสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม สัมมนา ประจำปีงบประมาณ 2562 ไปพลางก่อนลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยรับงบประมาณเร่งรัดเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม สัมมนา ประจำปีงบประมาณ 2562 ไปพลางก่อน สำหรับวงเงินนั้น ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณกระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 ระยะที่ 2 จะช่วยให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่การใช้จ่ายระดับฐานรากจนไปถึงระดับประเทศ ตลอดจนการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์

โดยการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่อยู่อาศัย และการลดภาระค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดทะเบียนจำนองที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยและปานกลางที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่าย เป็นการช่วยบรรเทาภาระให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ การเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐจะช่วยเพิ่มเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและกระตุ้นเศรษกิจให้ฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
มาตรการ “ชิมช้อปใช้” โทร 0 2273 9020 ต่อ 3510
มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฯ โทร 0 2273 9020 ต่อ 3234 มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายฯ โทร 0 2739020 ต่อ 3536

มาแล้ว‼️ #ชิมช้อปใช้ เฟส 2 เริ่มลงทะเบียน 24 ตุลาคมนี้ Read More »

ชิมช้อปใช้รอบ 2 เริ่มลงทะเบียน 23 ตุลาคม นี้

เป็นอีกหนึ่งข่าวสารดีๆ สำหรับใครที่กำลังรอคอยติดตาม ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดุเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายดีๆที่รัฐบาลมอบให้กับประชาชน ให้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในประเทศ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562 นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า โครงการชิมช้อปใช้ เฟส2 จะเสนอคระรัฐมนตรี เห็นชอบในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 และจะเริ่มให้มีการลงทะเบียนในวันที่ 23 ตุลาคม 2562 นี้

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกระหว่างกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า มาตรการชิมช้อปใช้ได้มีการส่ง SMS ยืนยันให้กับผู้ได้รับสิทธิ์ครบ 10 ล้านรายแล้ว ดดยมีผู้เข้ายืนยันตัวตนกับแอฟพลิเคชั่น เป๋าตัง 9,606,300 ราย ดดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 9,260,223 ราย

ในการใช้จ่าย 19 วันแรกนั้น มีผู้ใช้สิทธิ์ 8,519,390 ราย มีการใช้จ่ายรวม 8,282 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดเล็ก ตามวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ ร้อยละ 82 หรือ 6793 ล้านบาท และการใช้จ่ายในร้านขนาดใหญ่ ที่มีหลายสาขามีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง

โฆษกกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายของมาตรการว่าเป็นการพยุงเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นไม่ให้ชะลอตัวเองตามเศรษฐกิจโลก ผ่านการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว โดยให้แรงจูงใจดึงผู้มีกำลังซื้อออกมาเดินทาง กระจายเม็ดเงินไปยังเศรษฐกิจรากฐานและเกิดความคึกคักฝในการจับจ่าย

เรียกได้ว่าเป็นโครงการดีๆ สำหรับสายช้อป กับโครงการชิมช้อปใช้ บอกเลยว่าสายช้อปต้องมี

ข้อมูลจาก richfarmtoday.com

ชิมช้อปใช้รอบ 2 เริ่มลงทะเบียน 23 ตุลาคม นี้ Read More »