หลุมพอเพียง คือ
การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว หลุมที่ว่านี้ไม่ได้สภาพเป็นหลุมลึก ๆ
แต่เป็นการปลูกพืชเป็นกลุ่ม ขนาดที่น่าลองทำคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร
แต่สำหรับคนที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อเตรียมปลูกพืช อาจจะทำหลายๆหลุม ขนาดที่กำลังพอแรง คือขนาดกว้าง 80 – 100 เซนติเมตร จะทำวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ระยะห่างระหว่างหลุม 4 x4 เมตร ถ้ามีพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม
หรือถ้าไม่มีที่เป็นผืนก็สร้างหลุมไว้ตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน หลังครัว ขอบบ่อน้ำ
ริมทางเดิน ได้หมด
หลุมพอเพียง
เป็นวิธีการบริหารจัดการสิ่งที่อยู่ในหลุม เริ่มจากเตรียมพื้นที่ตามขนาดที่กำหนด
แล้วก็ปลูกหญ้าแฝกเป็นรูปวงกลมหรือเป็นล็อกสี่เหลี่ยม จากนั้นปลูกไม้ในหลุมนี้
ลงได้ถึง 4 – 5 ประเภทในหลุมเดียว เพื่อลดภาระการรดน้ำ ปลูกซ้ำ
และเกื้อต่อการกำจัดศัตรูพืชเพราะให้ทุกอย่างเกื้อกูลกันเอง
ต้นไม้ที่จะปลูกในหลุมแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ไม้บำนาญ เป็นไม้ผลยืนต้น ใช้เวลาปลูก 2 – 4 ปี แต่เมื่อให้ผลผลิตแล้ว เก็บกิน
เก็บขายได้เรื่อย ๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา
เป็นต้น ในหลุมหนึ่งควรเลือกปลูกแค่ประเภทเดียว
2. ไม้มรดก เป็นกลุ่มไม้ใช้สอยที่อายุยืน ใช้เวลาปลูกนาน
เก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน ตัดขาย
ก็ได้เงินก้อนใหญ่หรือจะเอาไว้ใช้ซ่อมแซมบ้านก็ได้ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา
พะยูง ชิงชัน ไม้พวกนี้เป็นไม้ใหญ่ ปลูกฝั่งตรงข้ามกับต้นกล้วย
พะยูง
พื้นที่ใต้ร่มเงาหรือบริเวณหลุมที่มีการเตรียมดินใส่ปุ๋ยปรับปรุงดินรดน้ำและดูแล
ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก แทนทีจะปล่อยให้วัชพืชขึ้นเป็นภาระที่ต้องคอยกำจัด
การปลูกพืชบางอย่างที่มีกลิ่นเฉพาะ ช่วยไล่แมลงศัตรูพืช
นอกจากนั้นยังเป็นกุศโลบายที่ทำให้พืชหลักที่ต้องการปลูก เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น
ไม้ป่ายืนต้น เจริญเติบโตและมีโอกาสรอดสูง เพราะผู้ปลูกจะคอยห่วงใย หมั่นดูแล
ทำให้พืชหลัก ดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าปกติอีกด้วย
และหากพืชชนิดใด
ชนิดหนึ่งจะเบียดเบียนพืชอื่นมากเกินไปก็คอยควบคุมให้เหมาะสม ตัดแต่งทรงพุ่ม
จัดพืชหรือเถาเลื้อยให้เหมาะสม สำหรับพืชพี่เลี้ยงก็ไม่ต้องมาก
ในหนึ่งหลุมปลูกกล้วยเพียง 1-2
ต้น เท่านั้น คือ ต้นที่กำลังให้เครือ
อีกหนึ่งต้นสำรองไว้สำหรับเครือต่อไปนอกนั้นให้ขุดหน่อไปขายหรือไปปลูกที่อื่น
การปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นไม้หลักไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหลุมพอเพียงหรือไม้เดี่ยวรากหญ้าแฝกจะเป็นร่างแหในแนวดิ่งช่วยยึดดินให้คงรูปเปรียบเสมือนกระถางธรรมชาติ
เพราะปมรากแฝกจะ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยดูดซับน้ำในดินไว้
แทนที่จะซึมหายลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว
กอแฝกที่เบียดชิดช่วยดักตะกอนดินซึ่งรวมปุ๋ยที่ใส่ และ
ใบแฝกที่ตัดมาคลุมดินยังช่วยรักษาดินให้ชุ่มชื้นในที่สุดก็ย่อย
3. ไม้พี่เลี้ยง เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ
เก็บความชื้นโดยเฉพาะช่วงร้อนหรือหน้าแล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม
ควรปลูกทางทิศตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด
เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดดจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี ก็ตัดทิ้ง
ปล่อยหน่อใหม่ให้ทำงาน
4. ไม้ฉลาด เป็นไม้ข้ามปี ที่สามารถเอาตัวรอดได้ดี เก็บผลได้นานพอสมควร เช่น
ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือนไปเรื่อยๆ
5. ไม้ปัญญาอ่อน หรือ ไม้รายวัน เป็นไม้ล้มลุกปลูกง่าย ตายเร็ว
ต้องคอยปลูกใหม่ ดูแลรดน้ำทุกวัน แต่เก็บผลได้เร็ว ได้ทุกวัน เช่น พริก มะเขือ
กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า เป็นต้น
เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน
โหระพา