พืชผัก

อาชีพเกษตรลงทุนน้อย หากถูกเลิกจ้างก็ทำได้เลย

1.เพาะเห็ดฟางในตะกร้า

ใช้ต้นทุนเพียง 150–300 บาท

ขั้นตอนการทำ

1.ตะกร้าทรงกลมสูง 5 ใบ ราคาใบละ 20 บาท=100 บาท

2.ก้อนเชื้อเห็ดฟาง 50 บาท

3.ฟางข้าว+ขี้เลื่อย

4.ถุงดำ 50 บาท

วิธีทำ

1.เริ่มขั้นตอนแรกโดยการนำฟางข้าวแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วผึ่งให้แห้ง

2.ใส่ฟางลงไปที่ก้นตะกร้า ตามด้วยขี้เลื่อย แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางตามลงไป

3.ทำซ้ำแบบข้อ 2 เป็นชั้นๆจนเต็มตะกร้า ชั้นบนสุดให้โรยขี้เลื่อยและเชื้อเห็ดมากๆ ดอกเห็ดจะได้ออกเต็มที่

4.จากนั้นให้ครอบด้วยถุงพลาสติกดำ เพาะจนเวลาผ่านไป 4-5 วัน จะเริ่มมีละอองน้ำเกาะในถุงดำอยู่แต่ถ้าไม่มีให้รดน้ำเพิ่มความชื้น

5.จากนั้น 12 วันต่อมา เห็ดดอกเล็กๆจะเริ่มออกดอก แล้วอีก 5 ค่อยทำการเก็บดอก จะได้เห็ดประมาณ 2 กิโลกรัมต่อ 1 ตะกร้าค่ะ

ข้อควรระวัง ช่วงวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 ห้ามเปิดถุงเด็ดขาดเพราะจำให้เชื้อเห็โหยุดการเจริญเติบโตแล้วเห็ดจะเน่าหมดค่ะ

4 อาชีพนี้เป็นอาชีพเกษตรที่ทำง่ายๆท่านใดอยากลองทำเป็นอาชีพเสริมก็ได้นะคะ รับรองทำง่ายขายคล่องค่ะ

2.สาระแหน่ในตะกร้า

ใช้ต้นทุนเพียง 420 บาท

ขั้นตอนการทำ

1.ยอดสาระแหน่ประมาณ 2 กรัม 20 บาท

2.ถาดสำหรับรอง 20 บาท

3.ตะกร้าตาถี่พลาสติก 20 บาท

4.หินเพอร์ไลท์ + ถาดหลุม 160 บาท ( สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ )

5.ปุ๋ยน้ำ 200 บาท

วิธีทำ

1.เลือกสาระแหน่ยอดที่สมบูรณ์ จะทำให้การเพาะได้ผลผลิตดี

2.ริดใบด้านล่างยอดออกให้เหลือเพียงใบเลี้ยงไว้ปลายยอดประมาณ 2-3 ใบ

3.นำยอดสาระแหน่ที่ตัดแต่งเตรียไว้มาปักลงในถาดหินเพอร์ไลท์ โดยขั้นตอนนี้ต้องระมัดระวังไม่เกิดความเสียหายแก่ยอด

4.จากนั้นนำถาดหินเพอร์ไลท์ใส่ลงในตะกร้า แล้วนำถาดรองตะกร้าอีกชั้นเพื่อรองน้ำ รักษาระดับน้ำให้อยู่ประมาณฐานตะกร้าอยู่ตลอด ควรผสมปุ๋ยน้ำเสริมไประหว่างเพาะจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสาระแหน่(อัตราการใส่ปุ๋ยสามารถดูได้ข้างขวด)

5.เมื่อครบ 1 เดือน จะเริ่มแตกยอดออกใบ พร้อมให้เก็บเกี่ยวได้เลย และยังสามารถนำยอดอ่อนใหม่มาขยายเพาะซ้ำได้เรื่อยๆอีกด้วยค่ะ

3.เพาะเห็ดนางฟ้าในบ่อปูนซีเมนต์

ใช้ต้นทุนเพียง 470 บาท

ขั้นตอนการทำ

1.บ่อปูนซีเมนต์ 120 บาท

2.พลาสติกใสหรือกระสอบสำหรับคลุม

3.เศษไม้เก่า

4.ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า 10 บาท (1 บ่อ เพาะได้ 30-35 ก้อน)

วิธีทำ

1.ตะแคงบ่อปูนซีเมนต์ในแนวตั้ง แล้วหาเศษแผ่นไม้มาวางรองเพื่อวางก้อนเชื้อ

2.เปิดก้อนเชื้อเห็ดทำได้โดยแกะเศษวัสดุต่างๆที่หุ้มไว้ตรงจุกก้อนออก นำก้อนเห็ดมาเรียงซ้อนกันขึ้นไปต่อชั้นๆ โดยให้หันจุกก้อนเห็ดออกมาด้านนอกบ่อ

3.รดน้ำนั้นให้รดลงไปบนก้อนเชื้อเห็ด อย่าให้เน้ำข้าไปในก้อนเชื้อเด็ดขาด แล้วค่อยเอาพลาสติกหรือกระสอบคลุมแล้วรดน้ำใส่วัสดุคลุมอีกครั้ง

4.รดน้ำวันละ 3 เวลา ทุก-เช้า-กลางวัน-เย็น ผ่าไป 7 วัน ตุ่มดอกเห็ดจะเริ่มออกมาให้เห็นแล้ว

ราคาขาย

อยู่ที่กิโลกรัมละ 100 – 120 บาท

4.เพาะถั่วงอกในขวด

ใช้ต้นทุนเพียง 490 บาท

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.ขวดน้ำพลาสติกเหลือใช้

2.ถั่วเขียวอย่างดี 1 กิโลกรัม 35 บาท ( ใช้ 14 กิโลกรัม = 490 บาท )

ขั้นตอนการทำ

1.เริ่มจากแช่เมล็ดถั่วเขียวในน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 คืน

2.นำขวดพลาสติกมาเจาะรูที่ด้านข้างของขวด เพื่อทำไว้เป็นเพื่อระบายน้ำ

3.จากนั้นนำถั่วเขียวที่แช่น้ำอุ่นมาใส่ในขวดพลาสติกที่เจาะรูเตรียมไว้ แล้วเอาผ้าสะอาดห่อขวดไว้เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสง

4.ดูแลบำรุงต้นถั่วโดยรดน้ำถั่วงอก เช้า-เย็น เมื่อเวลาผ่านไป 3 วัน ก็สามารถเก็บขายได้ โดยถั่วเขียว 1 กิโลกรัมสามารถเพาะถั่วงอกได้ถึง 7 กิโลกรัม

ราคาขาย

กิโลกรัมละ 10 บาท นั่นคือ ถั่วเขียว 1 กิโลกรัม จะได้กำไร 35 บาท

ข้อมูลจาก POST NO NAME

สอนปลูกผักบุ้งในโอ่งมังกร ปลูกง่าย โตไว เก็บได้หลายครั้ง

สวัสดีครับแฟนเพจสาระล้วนๆที่รักทุกท่าน วันนี้แอดมินจะพาออกนอกบ้าน พาทุกท่านไปปลูกผักบุ้งกันครับ แต่ครั้งจะปลูกลงดินทั่วไป มันก็ไม่ใช่สไตล์คนรุ่นใหม่แบบเราสิครับ เพราะวันนี้แอดมินจะพาไปปลูกผักบุ้งในโอ่งมังกรกันครับทุกท่าน เพราะทำง่าย โตไว ต้นขาวสวย เก็บได้หลายครั้งด้วยครับ แต่ก่อนจะไปปลูกผักบุ้ง เราไปทำความรู้จักผักชนิดนี้กันสักนิดนึงครับ

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นผักเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่า ผักบุ้งมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักบุ้งนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะผักบุ้งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ๆ ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งผักบุ้งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน สำหรับผักบุ้งไทยเป็นผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะมียางสีขาวมากกว่าผักบุ้งจีน ส่วนผักบุ้งจีนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศแต่ปลูกได้เองแล้วทั่วไปที่เมืองไทย โดยส่วนมากที่นิยมปลูกขายก็คือผักบุ้งจีน เพราะลำต้นค่อนข้างขาวอวบ ใบเขียวอ่อนกรอบ ดอกมีสีขาว และมียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย จึงได้รับความนิยมในการรับประทานมากกว่าผักบุ้งไทยนั่นเองครับ

สำหรับอุปกรณ์การปลูกผักบุ้งในโอ่ง

1. โอ่งมังกร อาจจะเป็นโอ่งใหม่สภาพดีหรือโอ่งที่รั่ว ร้าว แตกแล้ว ก็ใช้ได้ ไม่ต้องเจาะก้นโอ่งนะครับ

2. ตะกร้าพลาสติก ไว้สำหรับทำแปลงปลูก ควรมีขนาดเล็กกว่าก้นโอ่งเล็กน้อย หรือไม่มีก็ได้ถ้าก้นโอ่งไม่รั่ว

3. ดินสำหรับปลูก ใช้ดินร่วนซุยหรือปลูกผักทั่วไป

4. กระสอบป่านหรือกระสอบปุ๋ยเก่า ไม้กระดาน หรือตาข่ายเก่า ไว้สำหรับคลุมปากโอ่ง

วิธีปลูก

1. นำดินปลูกที่ผสมแล้วใส่ตะกร้าที่เตรียมไว้ หรือนำดินที่ผสมแล้วใส่ลงในก้นโอ่ง ให้มีความสูงจากก้นโอ่งประมาณ 3-5 นิ้ว ถ้าก้นโอ่งไม่มีรอยรั่วไม่ได้เจาะ ก็ให้ดินสูงนิดหน่อยเพื่อการระบายน้ำเวลารดน้ำผักบุ้ง

2. ใช้เมล็ดผักบุ้งหยอดลงไปในดิน แต่ไม่ควรแน่นจนเกินไป รดน้ำพอชุ่ม

3. เมื่อผักบุ้งแทงยอดอ่อน แล้วเริ่มใช้กระสอบเก่า หรือตาข่าย ปิดบังแสง แต่ให้อากาศผ่านได้

4. ยอดผักบุ้งสูงเกือบถึงปากโอ่ง จึงสามารถตัดยอดไปรับประทานได้

สูตรน้ำหมักชีวภาพสำหรับบำรุงดิน

1. น้ำเปล่า

2. ผักบุ้ง 2 กิโลกรัม

3. หยวกกล้วยอ่อน 3 กิโลกรัม

4. กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับบำรุงดิน

นำผักบุ้งกับหยวกกล้วยมัดรวมกัน เทน้ำและกากน้ำตาลผสมรวมกัน ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก่อนนำไปใช้ เมื่อครบกำหนดใช้น้ำหมัก 3 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทางใบ การใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปในแปลง จะเป็นการช่วยสร้างแพลงตอนในน้ำ และไม่ทำให้น้ำในแปลงเสีย

ประโยชน์ของผักบุ้ง

นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยำผักบุ้งกรอบ เป็นต้น

ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)

สรรพคุณของผักบุ้ง

มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล

มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย

ช่วยบำรุงสายตา อาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ

ช่วยบำรุงธาตุ

สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นตัวดับร้อน แก้อาการร้อนใน

ต้นสดของผักบุ้งช่วยในกาsบำรุงโลหิต

ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท

ช่วยแก้อาการเหงื่อ ออกมาก (รากผักบุ้ง)

มีส่วนช่วยลดระดับ น้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาu

ช่วยแก้อาการปอดศีรษะ อ่อนเพลีย

ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกsะดูกและฟัu

ช่วยแก้อาการเหงือกบวม

ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากผักบุ้ง)

แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม

ใช้แก้โรคหืด (รากผักบุ้ง)

ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

ช่วยป้องกันโรคท้องผูก

ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมssถภาพ

ผักบุ้งจีนช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง

ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม

ช่วยแก้ริดสีดวงทวาs ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ช่วยแก้อากาsตกขาวมากของสตรี (รากผักบุ้ง)

รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนผิดสำแดง

ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร

ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผักบุ้งไทยต้นขาว)

ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้แก้กลากเกลื้อน

ข้อมูลจาก ที่นี่มีสาระ

มีพื้นที่จำกัด แต่อยากปลูก ‘ผักอินทรีย์’ ไว้กินเองข้างบ้าน ทำได้ไม่ยาก

วิถีชีวิตเกษตรของคนไทยในอดีตเป็นวิถีชีวิตที่อยู่ใกล้ตัว เนื่องจากคนในครอบครัวเกษตรส่วนใหญ่ไม่ซื้อข้าวปลาอาหารจากผืนนาอื่นกินนอกจากเกลือ รอบๆ บ้านจึงปลูกพืชพื้นบ้านทุกอย่างที่กินได้ เช่น พืชผักที่ปลูกครั้งเดียวกินได้นานๆ อย่างฟัก แฟง ขี้เหล็ก สะเดา แค ส่วนพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น ไผ่สารพัดชนิดเพื่อการใช้สอยที่แตกต่างกัน

วิถีชีวิตนี้ได้เลือนหายไปเมื่อเรามาทำมาหากินในเมือง เนื่องจากถูกจำกัดด้วยพื้นที่และเวลา แต่ความเป็นคนที่มีวิถีเกษตรในสายเลือด มีความนึกคิดตลอดเวลาที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในเมืองว่าอยากจะปลูกต้นไม้ต้นไร่ มีชีวิตอยู่ในสวนตอนอายุมากแล้ว ความคิดนี้มีอยู่ใจของคนส่วนใหญ่

หลายคนหวนคิดถึงวันเวลาที่จะมีอิสรภาพในการทำสิ่งต่างๆ

รองศาสตราจารย์กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทั้งระดับปริญญาตรี (KU.27) และปริญญาโท ในสาขาสัตวบาล รับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ต่อมาในปี พ.ศ.2536 จึงโอนย้ายไปสอนที่ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นับเป็นอาจารย์ด้านสัตวบาลคนแรกของสถาบันฯ ที่ช่วยบุกเบิกการเรียนการสอนด้านการเลี้ยงสัตว์ รองศาสตราจารย์กษิดิศได้เคยทำงานบริหารในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร และรองคณบดีของคณะวิทยาศาสตร์ฯ ทำการสอนและวิจัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.2553

a

การได้ปฏิบัติราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นโอกาสดีที่ได้ทำงานด้านเกษตรผสมผสานตามที่ใฝ่ฝันไว้ เนื่องจากแนวคิดที่ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีฐานะยากจน ทางรอดที่จะให้เกษตรกรรายย่อยมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นและอยู่ได้อย่างมีความสุขนั้น ต้องเป็นการเกษตรแบบผสมผสาน ทุกกิจกรรมมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรของไทยนับตั้งแต่ยุค “ปฏิวัติเขียว” หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา จึงได้มีการนำวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตร จุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

แต่การนำเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตการเกษตรอย่างขาดความระมัดระวังนี้เอง ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อทุกภาคส่วนดังที่ปรากฏตราบจนทุกวันนี้

จากผลที่ปรากฏดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคเริ่มตื่นตัวเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะอาหาร ผู้บริโภคที่รักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจึงปฏิเสธการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนในกระบวนการผลิต ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำลายสิ่งแวดล้อมและขาดคุณธรรม อาหารดังกล่าวเรียกว่า “อาหารอินทรีย์” ดังนั้น การเกษตรแบบผสมผสานในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์จึงเป็นงานที่ต้องหันมาทำการศึกษาวิจัย ให้ความรู้แก่นักศึกษา เกษตรกร และผู้บริโภค แทนที่จะมุ่งใช้แต่เทคโนโลยีแผนใหม่ที่ต้องพึ่งพาสารเคมีสังเคราะห์

รองศาสตราจาย์กษิดิศกล่าวถึงการศึกษาด้านเกษตรของไทยว่า จากการเรียนการสอนวิชาการเกษตรในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่เน้นไปในด้านวิชาการเชิงลึก แต่ยังอ่อนด้านการปฏิบัติการในรูปแบบของการบูรณาการ หรือการนำไปใช้ได้จริง สำหรับการเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรแบบองค์รวมที่มีการบูรณาการทุกแขนงวิชาการเกษตรเข้าด้วยกัน รวมไปถึงการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีคุณธรรม ตลอดจนการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ หากจะผลิตเพื่อเป็นธุรกิจ”

e

ในช่วงที่ยังมีภารกิจการสอน รศ.กษิดิศ ปลูกพืชผักอินทรีย์ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เพื่อใช้บริโภคเองไว้บริเวณหลังบ้าน โดยมีการศึกษาการเจริญเติบโตของผักควบคู่ไปด้วย เมื่อเกษียณอายุราชการ จึงขยายการปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่นอกบ้านเพื่อเป็นธุรกิจซึ่งต้องมีการลงทุน ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์และแรงงาน การดำเนินงาน แต่เมื่อเริ่มต้นไปสักระยะก็ต้องหยุดลงกะทันหัน เนื่องจากต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่รั่วมานาน

ในช่วงของการพักฟื้นก็ได้คู่ชีวิตที่ชอบการปลูกผักในรูปแบบเดียวกันดูแล โดยปลูกผักในรูปแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อบริโภคเองเป็นหลักไว้รอบๆ บ้านพักอาศัยซึ่งมีพื้นที่ 111 ตารางวาในหมู่บ้านชัยพฤกษ์รามอินทรา

นอกจากบริโภคเองแล้ว ผักบางอย่างที่เหลือจากการบริโภคจะแจกจ่ายให้ญาติมิตรและขายให้กับคนในหมู่บ้าน ตลอดจนนำไปส่งขายที่ร้านขายผักอินทรีย์-ผักไร้สารพิษ Organic Station ที่ตลาดถนอมมิตรซึ่งอยู่ใกล้บ้าน บางครั้งก็นำไปขายที่ตลาดนัดโรงเรียนไตรพัฒน์ คลองหก อำเภอลำลูกกา เดือนละครั้ง และตลาดนัดสีเขียว ศูนย์สุขศาสตร์หลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีบู๊ธขายสินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์นานาชนิดทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดีอีกด้วย การขายผักอย่างละนิดอย่างละหน่อยนี้ รศ.กษิดิศกล่าวว่า รายได้ทุกเดือนมากกว่ารายจ่ายในบ้านเสียอีก

เกษตรอินทรีย์ เริ่มที่บ้าน

แปลงผักที่ปลูกจะใช้ไม้เฌอร่าซึ่งทนแดดทนฝน มีหน้ากว้าง 20 เซนติเมตร ตัดเป็นรูปแปลงผักขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร นำวัสดุปลูกซึ่งเป็นดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงไปบล๊อกไม้เฌอร่าให้สูงจากพื้นเดิมประมาณ 20 เซนติเมตร เสริมจุลินทรีย์ของดินด้วยการรดน้ำหมักชีวภาพ แล้วจึงนำต้นกล้าผักที่เตรียมไว้ซึ่งมีอายุ 10-15 วัน ปลูกลงในแปลงพื้นดินด้านล่าง หากมีพื้นที่จำกัดก็ปลูกผักลงในตะกร้าแล้วแขวนข้างกำแพงบ้าน ผักที่ปลูกนั้นมีหลายชนิด แต่ยังยึดการปลูกเพื่อบริโภคเป็นสำคัญ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดหัว ฟักเขียว แตงกวา มะนาว กระเพรา แมงลัก พริกขี้หนู และโหระพา เป็นต้น

นอกจากการปลูกผักแล้ว รศ.กษิดิศ ยังเลี้ยงไส้เดือนดินร่วมกับการปลูกผักอินทรีย์ โดยใช้มูลโคที่หมักแล้วเสริมด้วยเศษผัก เศษผลไม้ และเศษอาหารเลี้ยงไส้เดือนดิน ในมูลไส้เดือนก็นำมาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับใส่พืชผักอินทรีย์ การดูแลผักจะดำเนินการด้วยตนเอง ไม่มีการจ้างแรงงานเลย

d

การปลูกพืชผักในช่วงแรกจะมีแมลงศัตรูพืชรบกวน เป็นเรื่องปกติ ต้องหมั่นสังเกตเดินดูแปลงผัก ออกกำลังกายไปเรื่อยๆ หากเจอศัตรูพืชก็เก็บออก ตอนปลูกครั้งแรกๆ จะใช้น้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มควันไม้เพื่อป้องกันและขับไล่ศัตรูพืช

ทั้งนี้ จะไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การปลูกผักในรูปแบบดังกล่าว เมื่อปลูกติดต่อกันไปนานๆ จะสังเกตได้ว่าการรบกวนของศัตรูพืชลดลงมาก ทั้งนี้อาจเกิดจากธรรมชาติมีความสมดุลขึ้น มีตัวห้ำตัวเบียนมาอยู่ช่วยกำจัดศัตรูพืชผัก

จากหลักการเกษตรอินทรีย์ที่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลกัน รองศาสตราจารย์กษิดิศจึงได้เลี้ยงไก่ไข่ไว้บริเวณด้านข้างตัวบ้าน โดยเริ่มเลี้ยงจากลูกเจี๊ยบประมาณ 60 ตัว ทั้งนี้ตั้งใจใช้มูลไก่ที่ได้มาปรับปรุงดินปลูกพืช เลี้ยงด้วยเศษอาหารที่ได้จากร้านอาหารใกล้บ้าน และใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมกลิ่นมูลสัตว์เมื่อเลี้ยงไก่ไข่ได้จนอายุประมาณ 5 เดือน ใกล้ที่จะให้ไข่ก็ต้องขนย้ายไก่ไข่ไปเลี้ยงที่อื่น ทั้งนี้เนื่องจากไก่โตขึ้นและมีจำนวนมากเกินกว่าที่น้ำหมักชีวภาพจะควบคุมกลิ่นได้

ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นการนำเป็ดไข่ 10 ตัว มาเลี้ยงแทนใช้และใช้น้ำหมักชีวภาพร่วมกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาควบคุมกลิ่น ทุกวันนี้ไข่เป็ดที่ได้จำนวนวันละ 6-7 ฟอง บริโภคไม่หมดก็นำไปขาย ใช้เศษผักและวัชพืชในแปลงผักเป็นอาหารเสริมแก่เป็ด น้ำในอ่างที่ให้เป็ดได้ลงเล่นก็นำออกมาใช้รดต้นไม้ มูลเป็ดนำใช้เป็นปุ๋ยปลูกผัก

นอกจากการปลูกผักแล้ว รศ.กษิดิศ ยังส่งเสริมเพื่อนบ้านให้ปลูกผักรับประทานเอง โดยให้คำปรึกษาแนะนำเป็นวิทยาทาน ตลอดจนจัดหาวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในการปลูกผักอินทรีย์มาจำหน่าย เช่น ดินผสมมูลไส้เดือนสำหรับใช้ปลูกพืชผัก ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยจากมูลไส้เดือน กากน้ำตาล น้ำหมักชีวภาพ สารชีวภัณฑ์ และสารสมุนไพรใช้ควบคุมศัตรูพืช เป็นต้น

b

สรุปหัวใจสำคัญ

รองศาสตราจารย์กษิดิศกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “การปลูกพืชอินทรีย์ที่ใช้พื้นที่จำกัดข้างบ้าน ให้ยึดหลักว่า

1. ต้องใช้พื้นที่ที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช น้ำใช้ไม่มีปัญหาสำหรับการปลูกพืชในบริเวณบ้าน เนื่องจากน้ำมีเพียงพอ

2. ปลูกพืชที่ใช้บริโภคในครัวเรือนก่อน โดยเริ่มต้นอาจมีไม่กี่ชนิด เมื่อปลูกต่อไปๆ ชนิดของพืชจะเพิ่มมาก คนปลูกจะมีความสุขและมั่นใจในผักที่ตัวเองปลูกว่ามีความปลอดภัยมากกว่าผักตลาดที่เหลือจากการบริโภคนำออกแจกจ่ายญาติมิตรและจำหน่ายในขั้นต่อไป

และประการที่ 3. การจำหน่ายผลผลิตไม่ควรที่จะต้องขนส่งไปไกล ควรหาตลาดที่อยู่ใกล้สำหรับการขนส่งเอง และถ้าเป็นตลาดที่ไกลควรให้ผู้ซื้อมารับเอง เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระของเราในการขนส่ง”

การปลูกผักอินทรีย์ข้างบ้านเป็นความสุขหลังเกษียณอายุราชการที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมากมาย เหมาะสมกับกำลังกายที่มี ไม่ต้องออกแรงหนักมากนัก โดยใช้แรงงานภายในครอบครัวก็มีความสุขที่ได้ผักดีๆ มาบริโภค ผักอาจจะด้อยความงามไปบ้าง แต่ก็มากด้วยคุณค่าทางจิตใจและคุณค่าทางอาหารเพราะเป็นผักที่ปลูกตามวิถีธรรมชาติ เมื่อมีผลผลิตเหลือเฟือก็จะมีความสุขเพิ่มขึ้นจากการแบ่งปันพืชผักที่ปลอดภัยให้คนอื่น

สอบถามเรื่องผักกับรศ.กษิดิศ ได้ที่ โทร. 081-8215007

“ปฎิทินปลูกผัก” แจกฟรี พร้อมเคล็ดลับให้มีผักกินตลอดปี แม้น้ำน้อย จนเก็บกินแทบไม่ทัน

เป็นอีกหนึ่งไอเดียดีๆ และแน่นอนว่าการปลูกพืชผักสวนครัวนั้นถือเป็นสิ่งที่ชาวเกษตรหลายคนต่างให้ความสนใจเช่นเดียวกับแม่บ้านหลายคนที่มีพื้นที่เหลือในบริเวณรอบบ้านก็อยากจะปลูกผักไว้รับประทานกินเองในบ้าน เพราะการปลูกผักในบ้านนั้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน


อีกทั้งยังได้อาหารที่กฎหมายและเป็นประโยชน์และสามารถสานสัมพันธ์คนในครอบครัวด้วยการปลูกผักได้อีกด้วย แต่ในบางครั้งถ้าหากเลือกผักผิดชนิดและปลูกผิดฤดูกาลพืชผักเหล่านั้นก็ไม่สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาได้เช่นกัน และนั่นก็อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การปลูกผักไม่ประสบความสำเร็จเสียที


และในตอนนี้เทรนการปลูกผักสวนครัวนอกบ้านนั้นกำลังมาแรงเป็นอย่างมากและมีผู้คนนั้นต่างให้ความสนใจมันจะดีกว่าไหมถ้าหากเรารู้ว่าผักชนิดไหนควรปลูกในฤดูใดและจะต้องปลูกอย่างไรซึ่งในวันนี้ทางทีมงานก็จะพาทุกคนนั้นมาดูผักแต่ละชนิดที่ควรจะปลูกในแต่ละฤดูกาลกันซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยดีกว่า


ซึ่งในเรื่องของการเริ่มต้นการปลูกผักนั้นโดยในตอนแรกการเลือกชนิดผักที่จะปลูกหรือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะผู้ที่จะปลูกนั้นควรปลูกผักที่ตนเองและสมาชิกในครอบครัวรับประทานได้และมีการปลูกผักนอกเหนือจากผักที่รับประทานในชีวิตประจำวัน


เช่น กะเพรา โหระพา ตะไคร้ มะนาว หอมแบ่ง ผักชี มะกรูด พริก โดยผักเหล่านี้สามารถปลูกในกระถางได้แต่ถ้าหากใครนั้นอยากจะปลุกเขาให้มีทางปีเรานั้นก็สามารถเลือกชนิดผักที่เจริญเติบโตได้ดีตามแต่ละช่วงเดือนใน 1 ปีได้อย่างตารางข้างล่างนี้ เลย


ฤดูร้อน


ฤดูฝน


ฤดูหนาว


และนี่ก็คือตารางในการปลูกผักแต่ละเดือนซึ่งแน่นอนว่าการปลูกผักนั้นก็ควรคำนึงถึงการปลูกผักตามฤดูกาลเสียด้วยเพราะว่าจะมีสภาพอากาศที่เป็นตัวแปรในการทำให้พืชผักแต่ละชนิดเจริญเติบโตสวยงามโดยไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแต่อย่างใดโดยในแต่ละฤดูนั้นสามารถปลูกผักได้ดังนี้


ช่วงฤดูร้อน
โดยในช่วงนี้พืชผักที่ปลูกนั้นอาจจะไม่สวยงามมากเพราะมีอากาศที่ร้อนอบอ้าวโดยการปลูกผักในช่วงนี้จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการลดน้ำเป็นพิเศษและสามารถเลือกชนิดของผักได้ตามที่ต้องการจะรับประทานผักที่ควรจะปลูกนั้นจะต้องมีฤทธิ์เย็นและแก้อาการร้อนในของร่างกายของคนได้อีกด้วยซึ่งขณะที่เราจะแนะนำนั้นก็จะมี ผักกาดฮ่องเต้ ฟัก ผักกาดขาว แตงกวา บวบ และผักเลื้อยต่างๆ


ช่วงฤดูฝน
โดยในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีสภาวะความชื้นสูงเพราะมีน้ำฝนจากฝนที่ตกตามธรรมชาติจึงไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้และทำให้ผักบางชนิดนั้นอาจจะเกิดเน่าเสีย เพราะได้รับน้ำมากเกินความจำเป็น จึงทำให้ผักในฤดูนี้มีราคาที่ค่อนข้างแพงและเป็นผักที่ช้ำง่ายแต่ก็จะมีผักพื้นบ้านที่สามารถออกผลงานและพร้อมให้เก็บมารับประทานได้ในช่วงนี้ซึ่งก็จะมี โสน ขี้เหล็ก ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักปลัง ดอกขจร กวางตุ้ง คะน้า ตำลึง ผักบุ้ง พืชผักตระกูลขิงข่าต่างๆ


ช่วงฤดูหนาว
โดยช่วงนี้เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นถือเป็นเวลานาทีทองของผักสลัดต่างๆเช่นผักคอส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ผักกาดและกะหล่ำ และรวมถึงผักที่ทานเป็นหัวเช่นแครอทนอกจากนี้ยังมีผักพื้นบ้านและผักทั่วไปหลายๆชนิดก็สามารถออกผลดีในช่วงหน้าหนาวนี้ด้วยเช่นกันก็จะมีหอมแบ่ง ผักชี สะเดา กุ้ยช่ายดอกแค ขึ้นฉ่ายเป็นต้น


ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าในแต่ละฤดูนั้นก็สามารถกำหนดผักแต่ละชนิดที่ควรปลูกไว้ซึ่งถ้าหากใครต้องการที่จะปลูกผักก็สามารถนำตารางผักนี้เอาไปปลูกได้ด้วยเช่นกันเพื่อที่จะได้ผลที่สวยงามและไม่ต้องใช้สารเคมีแต่อย่างใดและนอกจากการที่ปลูกผักไว้รับประทานเองแล้วนั้น


เจ้าของบ้านนั้นก็สามารถนำผักเหล่านี้มาตกแต่งบ้านที่สามารถดูมีความร่มรื่นสวยงามภายในพร้อมๆกันได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะกลายเป็นสวนผักที่มีความแก๋ไก๋ด้วยนั้น ก็ถือเป็นข้อดีของผักสวนครัวที่มีอยู่ในรั้วบ้านนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้ได้ดีอีกด้วย

ข้อมูลจาก Fastviweuk

พืชที่แนะนำให้ปลูกไว้กินเองข้างรั้วบ้าน

1. ผักหวานบ้าน(ผักหวานใต้)

เป็นไม้พุ่มต้นเล็ก สูงประมาณ 2-4 ฟุต ปลูกง่ายส่วนใหญ่จะนำเอาอ่อนมาปลูกในสวน ตามพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมรั้วบ้านหรือที่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำมาทำอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด ลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ยำผักหวาน ฯลฯ นอกจากนี้สามารถปลูกเป็นรั้วบ้านได้สวยงามอีกด้วย

2. ผักหวานป่า

เป็นผักป่าอีกชนิดที่คนนิยมปลูก และเก็บยอดมารับทำอาหารหรือขาย โดยเฉพาะอีสาน และเหนือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ยอดอ่อนของผักหวานป่ามีความกรอบ และหวานมันกว่าผักหวานบ้าน จึงมักนิยมนำมาทำอาหารในหลากหลายเมนู เช่น  แกงเลียง แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง แกงจืด ผัดใส่ไข่ ทำไข่เจียว อีกทั้งผักหวานป่ายังสามารถปลูกเป็นแนวรั้วหรือแนวเขตแดนร่วมกับการเก็บยอดรับประทานได้อีกด้วย

3. ชะอม

ชะอมเป็นพืชสวนครัวที่หาได้ง่าย สามารถปลูกเป็นรั้วบ้านได้ มียอดอ่อนให้ตัดกินได้ตลอดทั้งปี นำมาทำอาหารได้หลายเมนู อร่อย มีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง รวมทั้งเป็นพืชที่ปลอดสารพิษอีกด้วย

4. บวบ

เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว นำมาทำเป็นอาหารได้ง่ายหลากหลายเมนู เช่น ผัดบวบใส่ไข่ ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ปลูกกินเองหรือปลูกไว้ขายก็ได้ บวบฤทธิ์ทางเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน

5. ตำลึง


ตำลึงส่วนใหญ่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สำหรับบ้านที่มีรั้วปูนหรือรั้วไม้สามารถปลูกตำลึงและตัดแต่งให้สวยได้ แถมยังไมีประโยชน์อีก
ตำลึงนำไปทำแกงหรือผัดก็อร่อย เมนูนิยมเช่น ผัดน้ำมันหอย ผัดกับไข่ แกงจืดใส่เต้าหู้ ก๋วยเตี๋ยวปลา มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ทั้งวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และเบต้าแคโรทีนป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ยังเหมาะกับการปลูกริมรั้ว เพราะเป็นไม้เลื้อยที่สวยงาม

6. ดอกอัญชัน

ดอกอัญชัน มีประโยช์มากมายทั้ง บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ เป็นพืชที่ปลูกง่าย มีสีสันสวยงาม นำมาทำอาหารหรือเครื่องดื่มได้หลากหลาย เช่น ดอกอัญชันชุบแป้งทอด ยำดอกอัญชัน ข้าวผัดดอกอัญชัน น้ำดอกอัญชัน หรือนำมาใช้เป็นสีผสมอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ดอกอัญชันยังมีสีสันที่สวยงามจึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ ประดับตามรั้วบ้าน

7. ถั่วฝักยาว

กินง่าย ปลูกง่าย ขายได้  นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงส้มถั่วฝักยาว ใส่ส้มตำ  ถั่วฝักยาวผัดกุ้ง หมูผัดพริกแกงถั่วฝักยาว กระเพาะหมูใส่ถั่วฝักยาว อีกทั้งมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย

8. แก้วมังกร

แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น วิตามินซี บี 1 บี 2 บี 3 แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น
แก้วมังกรมีแคลอรีต่ำช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และยังเป็นผลไม้ที่มีเนื้อเยอะ ทำให้อิ่มท้องได้นาน เรียกได้ว่าสามารถกินแทนมื้ออาหารได้เลย แม้จะกินเยอะแค่ไหนก็ไม่อ้วน แถมช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ดูมีน้ำมีนวล นอกจากนี้ยังมีดอกที่สวยงามอีกด้วย

9. ถั่วพู

     ถั่วพูเป็นพืชที่มีคุณค่าและประโยชน์มากมายส่วนใหญ่นำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือกินสด ใส่ลงในทอดมัน หรือ

ยำถั่วพู และแกงต่างๆ กินกับขนมจีนเป็นผัก เมล็ดถั่วพูยังนำมาคั่วรับประทานได้ดีอีกด้วย เพราะมีคุณค่าทางอาหารหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ถั่วพูเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ขายได้ราคาอีกด้วย

ข้อมูลจาก babban