จากไม่มีน้ำสักหยดบนดอยหัวโล้น สู่ระบบชลประทานชุมชน

เราคงเคยได้ยินอยู่บ่อย ๆ นะครับ
เสียงเชียร์ที่บอกกับชาวบ้านว่า “เลิกปลูกข้าวโพดเถอะ!”
แต่ในความจริง คือ แม้อยากจะเลิก ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในพื้นที่ไร่ข้าวโพด ไม่มีแหล่งน้ำ

บ้านแม่วาก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
เป็นชุมชนที่มุ่งมั่น ไม่ยอมจำนน
#เมื่อไม่มีน้ำ ก็ต้องหาน้ำ
#เมื่อใช้งบพัฒนาของรัฐไม่ได้ เพราะพื้นที่อยู่ในเขตป่า ก็ไม่ยอมแพ้
#เมื่อรัฐไม่มีให้ ก็ทำโครงการขอรับความช่วยเหลือจากภาคเอกชน/องค์กรต่าง ๆ
#เมื่อไม่มีค่าแรง ก็พร้อมลงแรงเอง 100%

คนแม่วาก ใช้เวลา 3 ปี รวมงบสนับสนุนประมาณ 2 ล้านบาท
ทำ ๆ หยุด ๆ เพราะงบซื้อวัสดุอุปกรณ์ไม่ต่อเนื่อง แต่ไม่ถอดใจ เพราะตั้งใจเปลี่ยนชีวิตจริง ๆ
#เสียงน้ำที่ไหลลงบ่อในวันแรก สร้างรอยยิ้มและความหวังครั้งใหม่

ชมวีดีโอ ด้านล่าง (วีดีโอไม่เล่น กดตรงนี้)

https://www.facebook.com/join.forestbook/videos/2316370715270357/

ระบบชลประทานชุมชนของบ้านแม่วาก
มีบ่อใหญ่(บ่อแม่) 1 บ่อ ความจุ 1,200 ลบ.ม. และบ่อเล็กซึ่งกระจายตัวอยู่ตามสันดอยต่าง ๆ อีก 6 บ่อ ความจุบ่อละ 200 ลบ.ม.

ถือเป็นระบบน้ำขนาดกะทัดรัด เหมาะกับสภาพพื้นที่
ซึ่งชาวบ้านรู้ดีว่า ต้องใช้น้ำอย่างระมัดระวัง ไม่ปลูกพืชที่ใช้น้ำเยอะเกินไป
จัดสรรน้ำอย่างยุติธรรม และบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ในอนาคต เมื่อต้นไม้โต และระบบวนเกษตรเข้าที่เข้าทาง
ความชุ่มชื้นในดินและการเก็บกักน้ำฝนตามธรรมชาติจะฟื้นคืนมา

#แรงขับของคนที่อยากพลิกชีวิต มีพลังจริง ๆ นะครับ
คนแม่วาก พิสูจน์ให้เห็นว่าแล้วว่าพวกเขาเอาจริง
แล้วรัฐ สังคม และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งล้วนต้องการพื้นที่สีเขียวเช่นกัน จะใช้โอกาสนี้เข้ามาร่วมบูรณาการกันอย่างไรดี
จะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกอะไร ตลาดต้องการแบบไหน มีงบประมาณ มีองค์ความรู้ มีนวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะหนุนช่วยอย่างไรได้บ้าง

ที่ผ่านมา
อ.แม่แจ่ม มีหน่วยงาน องค์กร และคนภายนอกเข้ามาร่วมแก้ปัญหามากมาย แต่ส่วนใหญ่ เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ

ถึงเวลาต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์
ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง(Area-based)
ใช้ความต้องการและการมีส่วนร่วมของชาวบ้านเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน
ถ้าทุกฝ่ายยังผ่านด่านนี้ไปไม่ได้ ความหวังที่เราจะได้เห็นพื้นที่สีเขียวเต็มพื้นที่ ก็ยังต้องลุ้นกันเหนื่อยครับ

ที่มา forestbook

จากไม่มีน้ำสักหยดบนดอยหัวโล้น สู่ระบบชลประทานชุมชน Read More »